
แมลงด้วงน้ำมัน
(อ้างอิงข้อมูลจาก กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์> ดร.วัฒนา อู่วาณิชย์)
Dear All
We have the alert note about Bio- Hazard; dangerous beetle
Please notify to your subordinates or everyone you care
Hazard: drop of its’ urine as a poison biosynthetic (Cantharidin, strong corrosive/severe irritant), if contact your skin; Wash-out by water, and Don’t touch to other skin zones
And see a Doctor immediately
Please notify to your subordinates or everyone you care
Hazard: drop of its’ urine as a poison biosynthetic (Cantharidin, strong corrosive/severe irritant), if contact your skin; Wash-out by water, and Don’t touch to other skin zones
And see a Doctor immediately
ถ้าโดนแล้วห้ามเกาเด็ดขาดเพราะมันจะลามไปเรื่อยๆเลยหนองหรือน้ำเหลืองของเราจะทำให้จากอีกจุดเพิ่มเป็นอีกจุดรามเป็นแผลใหญ่และที่สำคัญตอนนี้แมลงนี้มีพบที่ กทม แล้ว (ปกติอยู่ในป่า และมี habitat เฉพาะที่) หากโดนกรุณาติดต่อแพทย์โดยด่วนมิฉะนั้นแผลจะลุกลามไปรวดเร็วมากแมลงชนิดน ี้จะไม่กัดหรือต่อยแต่ฉี่ของมันมีความเป็นกรดสูงมากและเป็นสาเหตุให้เกิดแผลซึ่งหากเกิดเป็นแผลแล้วเอามือไปถูกแผลนั้นให้รีบล้างมือโดยเร็วมิฉะนั้นจะเกิดแผลลุกลามไปยังที่ๆเอามือไปสัมผัสต่อไปอีก
สารพิษจากด้วงไฟเดือนห้า: แคนทาริดีน (Cantharidin)
สารพิษจากด้วงไฟเดือนห้า: แคนทาริดีน (Cantharidin)
(ข้อมูลเพิ่มเติมจาก ศุนย์ข้อมูลโรคติดเชื้อและพาหะนำโรค)
ด้วงน้ำมัน ชื่อท้องถิ่น : ด้วงไฟเดือนห้า ด้วงโสน แมลงอึ่มไฮ้

เป็นแมลงปีกแข็ง ที่มีลำตัวยาวประมาณ 3 - 5 เซนติเมตร ลำตัวมีสีดำ มีแถบเหลืองบนปีก 3 แถบพาดขวางลำตัว เมื่อถูกรบกวนก็จะขับสารพิษที่เรียกว่า แคนทาริดิน ออกมาทันที แคนทาริเป็นสารพิษมีฤทธิ์ทำลายระบบการทำงานของไตและอวัยวะสืบพันธุ์ ทำให้เลือดออกในกระเพาะอาหาร ผู้ป่วยจะมีอาการเซื่องซึม ปวดท้องรุนแรง อาเจียน ปัสสาวะเป็นเลือด ช็อกหมดสติ และตายในที่สุด ด้วงน้ำมันอาศัยอยู่ตามต้นแคที่ชาวบ้านใช้ดอกมาทำแกงส้ม ด้วงน้ำมันมีลักษณะคล้ายคลึงกับแมงมาลี ซึ่งเป็นด้วงที่กินได้ ลำตัวมีสีดำ ปีกคู่หน้า 2 ปีกเป็นสีดำ มีแถบเหลือง 1 แถบคั่นกลาง มีหนอดยาวและใหญ่กว่าหนวดของด้วงน้ำมันส่วนโค้งเป็นสีดำ และส่วนปลายเป็นสีเหลือง
อันตรายของด้วงน้ำมัน พ.ศ. 2538 ข่าวกินแมลงตายที่จังหวัดพัทลุง ด้วยเชื่อว่าเป็นยารักษาโรค และยาบำรุงกำลัง พ.ศ. 2532 มีรายงานการเสียชีวิตและป่วยหนักที่จังหวัดลำปาง และ จังหวัดมหาสารคาม เนื่องจากกินแมลงด้วงน้ำมัน กองพิษวิทยาและกองกีฏวิทยาทางแพทย์จึงได้ร่วมกันตรวจวิเคราะห์แมลงและสารพิษ พบสารแคนทาริดินประมาณ 6 มิลลิกรัมต่อแมลง 1 ตัว สารแคนทาริดินนี้ถ้าได้รับเข้าไปในร่างกายในปริมาณเพียงเล็กน้อยก็ทำให้เกิดอาการพิษได้ และถ้าได้รับในปริมาณ 10 มิลลิกรัมก็จะทำให้เสียชีวติได้ อาการพิษของสารนี้ถ้าสัมผัสถูกผิวจะทำให้เกิดการระคายเคือง เป็นตุ้มน้ำ พอง ถ้าหากรับประทานเข้าไปจะทำให้เกิดการระคายเคืองระบบทางเดินอาหารอย่างรุมแรง คลื่นไส้ อาเจียนเป็นเลือด ปวดท้องอย่างรุนแรง ท้องร่วง ปัสสาวะเป็นเลือด อาจทำให้ถึงตายได้ พ.ศ. 2539 สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดสกลนคร ได้ส่งตัวอย่างแมลงที่มีผู้รับประทานแล้ว 2 คน เกิดพิษและถึงตายได้ เพื่อตรวจสอบชนิดแมลงปรากฏว่าเป็นด้วงน้ำมัน พ.ศ. 2540 มีข่าวกินแมลงตายที่ อำเภอเมือง จังหวัดมุกดาหาร
การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ให้ผู้ป่วยรับประทานผงถ่าน แล้วรีบนำมาส่งแพทย์ ถ้าผู้ป่วยหมดสติให้รีบนำส่งแพทย์
การป้องกันอันตรายจากการรับประทานแมลง
ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานแมลงที่ไม่ทราบชนิด หรือสงสัยว่าเป็นด้วงน้ำมัน
No comments:
Post a Comment